Breaking news-ไทยรัฐออนไลน์

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

เอกสารแนบระบบบำบัดน้ำเสีย

ระบบการจัดการน้ำเสียชุมชน
ชื่อโครงการ :
บ่อปรับปรุงคุณภาพน้ำ เทศบาลเมืองมหาสารคามcrack
เทศบาลเจ้าของ : เทศบาลเมืองมหาสารคามcrack
- ข้อมูลทั่วไป
พื้นที่ อปท. : 24 ตร.กม.
พื้นที่บริการของระบบบำบัดน้ำเสีย : 2 ตร.กม.
ระบบท่อรวบรวมน้ำเสียครอบคลุมพื้นที่ : - ตร.กม.
ที่ตั้งโครงการ : ต.- อ.- จ.มหาสารคาม
แหล่งงบประมาณ : - งบประมาณแผ่นดิน (งปม.)crack
ปีงบประมาณ 2548 งบประมาณ 186 ล้านบาท
สถานภาพปัจจุบัน : เปิดดำเนินการ
-
- ข้อมูลการรวบรวมน้ำเสีย
ระบบท่อรวบรวมน้ำเสีย
ขนาดระบบรวบรวมน้ำเสียที่สามารถรับน้ำเสียได้ต่อวัน 4,200 ลบ.ม.
จำนวนบ่อดักน้ำเสียทั้งหมด 4 บ่อ
บ่อดักน้ำเสีย CSO
ชื่อ CSO แหล่งน้ำที่ระบาย สภาพปัญหา
CSO 1 ถนนสมถวิลราษฎร์ -
CSO 2 ถนนบูรพาอุทิศ -
CSO 3 ด้านซ้ายถนนนครสวรรค์ -
CSO 4 ด้านซ้ายถนนมหาชัยดำริห์ -
สถานีสูบน้ำเสีย
จำนวนสถานีสูบน้ำเสียในระบบรวบรวมน้ำเสียมีจำนวน 4 แห่ง
สถานีสูบน้ำเสียในพื้นที่ระบบบำบัดน้ำเสียมี 4 แห่ง
ปัญหาของระบบรวบรวมน้ำเสีย -
- ข้อมูลการบำบัดน้ำเสีย
การบำบัดในปัจจุบัน
พื้นที่โรงบำบัดน้ำเสีย 27 ไร่ - งาน - ตร.วา
ที่ตั้งของโรงบำบัด 50 ถนนนครสวรรค์ ซอย49 ต.ตลาด อ.เมืองมหาสารคาม จ.มหาสารคาม
ประเภทระบบบำบัดน้ำเสีย - ระบบบำบัีดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร (Stabilization Pond : SP)
ปีที่เริ่มดำเนินการ 2551
ปริมาณน้ำเสียตามการออกแบบ 2,767 ลบ.ม/วัน
ปริมาณน้ำเสียที่เข้าระบบจริง 1,951 ลบ.ม/วัน
จำนวนครัวเรือนที่ให้บริการบำบัดน้ำเสีย 15,236 ครัวเรือน
คิดเป็น - % ของครัวเรือนทั้งหมด
คุณสมบัติน้ำหลังบำบัด ก่อนปล่อยออกสู่แหล่งน้ำ ปี พ.ศ.2552
ลำดับ ดัชนีคุณภาพน้ำ หน่วย ผลการตรวจวัด
ก่อน หลัง ค่ามาตรฐาน
1 ของแข็งแขวนลอย(Suspended Solids) mg/l 21.93 21.93
2 ค่าความเป็นกรดและด่าง(pH) ph 6.85 6.85
3 ค่าบีโอดี(BOD) mg/l 12.45 12.45
4 น้ำมันและไขมัน(Oil & Grease) mg/l 2.70 2.70
5 ไนโตรเจนในรูป TKN mg/l 10.01 10.01
6 ฟอสฟอรัสทั้งหมด(Total as P) mg/l 1.06 1.06
7 อุณหภูมิ(Temperature) C 34.79 34.79 -
ปัญหาในการดำเนินการ ไม่มีปัญหา

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการระบบบำบัดน้ำเสียรายเดือน ปี พ.ศ.2551
เงินเดือนพนักงาน ค่าไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง/หล่อลื่น ค่าซ่อมแซม/อุปกรณ์ สารเคมี อื่นๆ รวม(บาท)
130,903.38 38,128.21 4,347.28 135,426.58 12,947.00 1,385.27 323,137.71
- การบริหารจัดการนโยบายของ อปท.
นโยบายการบริหารจัดการน้ำเสียของเทศบาล :
จัดสรรงบประมาณตามบันทึกข้อตกลงร่วมกับองค์การจัดการน้ำเสีย
- การมีส่วนร่วมของประชาชน
ไม่มีข้อมูล

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

วันสิ่งแวดล้อมโลก วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี

ในวันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปีนั้น เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งเป็นวันที่เราควรจะทำอะไรสักอย่างเพื่อสภาพแวดล้อมของเราที่ย่ำแย่ลงทุก วัน สังเกตได้จากปรากฏการณ์ต่างๆ ทั้งหิมะขั้วโลกเหนือละลาย น้ำท่วม แผ่นดินไหว หรืออากาศร้อนขึ้น ซึ่งผลเหล่านี้ล้วนมาจากการมนุษย์ที่เป็นคนทำลายธรรมชาติ ทำลายสิ่งแวดล้อมดีๆ นั่นเอง ทำให้หน่วยงานของโลกจัดตั้งวันสิ่งแวดล้อมโลกขึ้น

          สำหรับ จุดเริ่มต้นของวันสิ่งแวดล้อมโลก หรือ World Environment Day นั้นจัดทำขึ้นเพื่อให้เกิดความตื่นตัวในด้านวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมขึ้นทั่ว โลก จึงมีมติให้จัดประชุมใหญ่ที่กรุงสตอกโฮลม์ ระหว่างวันที่ 5-16 มิถุนายน พ.ศ. 2515 ที่มีรัฐบาลของสวีเดนเป็นเจ้าภาพ โดยเรียกการประชุมนี้ว่า "การประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์" หรือ "UN Conference on the Human Environment" ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1,200 คน จาก 113 ประเทศ รวมถึงมีผู้สังเกตการณ์อีกกว่า 1,500 คน จากหน่วยงานของรัฐ องค์การสหประชาชาติ และสื่อมวลชนแขนงต่างๆ

          ทั้ง นี้เพื่อร่วมกันหาหนทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ประเทศต่างๆ กำลังเผชิญอยู่ ซึ่งผลจากการประชุมครั้งนั้นได้มีข้อตกลงร่วมกันหลายอย่าง เช่น การจัดตั้งโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP: United Nations Environment Programme) ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา และรัฐบาลประเทศต่างๆ ก็ได้รับข้อตกลงจากการประชุมคราวนั้น ไปจัดตั้งหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในประเทศของตน ดังนั้นเพื่อเป็นการระลึกถึงจุดเริ่มต้นของการร่วมมือ จากหลากหลายชาติในด้านสิ่งแวดล้อม องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก
วันสิ่งแวดล้อมโลก

วันสิ่งแวดล้อมโลก


          ซึ่ง โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติมีหน้าที่ติดตาม และประเมินผลการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ทางที่ดี และเพื่อให้เป้าหมายบรรลุผลจึงได้กำหนดวิธีการไว้ดังนี้

          สร้างความตื่นตัวในการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม และให้การศึกษากับประชาชนและนักศึกษาทั่วไป

          ให้การสนับสนุนทางวิชาการ และเผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพื่อกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี

         เสริมสร้างให้สถาบันและคนในสถาบันตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม
วันสิ่งแวดล้อมโลก

          นอก จากนั้น ยังมีข้อตกลงจากการประชุมให้มาดำเนินการจัดตั้งหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้น ในประเทศของตน ซึ่งประเทศไทยก็ได้ตราพระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2518 และได้ก่อตั้งสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติขึ้น เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 อันเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการดำเนินงาน ด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย โดยต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เป็น 3 หน่วยงาน คือ

          1.กรมควบคุมมลพิษ

          2 กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

          3.สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
วันสิ่งแวดล้อมโลก

          และในส่วนของสถาบันการศึกษาก็ได้มีการจัดสอนหลักสูตรด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นใน หลาย ๆ มหาวิทยาลัย ซึ่งนับได้ว่าเป็นก้าวสำคัญของการตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อม อีกทั้งสื่อมวลชนก็ได้ส่งเสริมให้เกิดการตื่นตัวในปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งวันสิ่งแวดล้อมโลกในแต่ละปีก็จะมีหัวข้อที่ต่างกันออกไป

          พ.ศ. 2528 เยาวชน ประชากร และสิ่งแวดล้อม (Youth, Population and Environment)

        
พ.ศ. 2529 ต้นไม้เพื่อสันติภาพ (A Tree for Peace)

         
พ.ศ. 2530 (Public Participation,Environment Protection and Sustainable Development)

         
พ.ศ. 2531 การมีส่วนร่วมของประชาชน การปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (When people put the environment first,development will last)

         
พ.ศ. 2532 ภาวะโลกร้อน (Global Warming,Global Warming)

         
พ.ศ. 2533 เด็ก และสิ่งแวดล้อม (Children and the Environment (Our Children,Their Earth))

         
พ.ศ. 2534 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change : Need for Global Partnership)

         
พ.ศ. 2535 (Only One Earth : Care and Share)

         
พ.ศ. 2536 (Poverty and the Environment : Breaking the Vicious Circle)

         
พ.ศ. 2537 โลกใบเดียว ครอบครัวเดียวกัน (One Earth, One Family)

         
พ.ศ. 2538 ประชาชน เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมโลก (We The Peoples,United for the Global Environment)

         
พ.ศ. 2539 รักโลก : ดูแลถิ่นฐานบ้านเรา (Our Earth, Our Habitat,Our Home)

         
พ.ศ. 2540 เพื่อชีวิตที่ยั่งยืนบนผืนโลก (For Life one Earth)

         
พ.ศ. 2541 เศรษฐกิจพอเพียง เลี้ยงชีวิตยั่งยืน (For Life on Earth "Save our Seas")

         
พ.ศ. 2542 รักโลก รักอนาคต รักษ์สิ่งแวดล้อม ("Our Earth,Our Future...Just Save It")

         
พ.ศ. 2543 ปี 2000 สหัสวรรษแห่งชีวิตสิ่งแวดล้อม : ร่วมคิด ร่วมทำ เพื่อโลก เพื่อเรา (2000 The Environment Millennium :Time to Act)

        
พ.ศ. 2544 เชื่อมโยงโลกกว้าง ร่วมสร้างสานสายใยชีวิต (CONNECT with the World Wide Web of Life)

         
พ.ศ. 2545 ให้โอกาสโลกฟื้น คืนความสดใสให้ชีวิต (Give Earth a Chance)

         
พ.ศ. 2546 รักษ์น้ำเพื่อสรรพชีวิต ก่อนวิกฤตจะมาเยือน (Water - Two Billion People are Dying for it!)

         
พ.ศ. 2547 ร่วมพิทักษ์ ร่วมรักษ์ทะเลไทย (Wanted! Sea and Oceans - Dead or Live?)

         
พ.ศ. 2548 เมืองเขียวสดใส ร่วมใจวางแผนเพื่อโลก (GREEN CITIES PLAN FOR THE PLANET!)

         
พ.ศ. 2549 เพิ่มความชุ่มชื้น คืนสู่ธรรมชาติ (DON T DESERT DRYLANDS!)

         
พ.ศ. 2550 ลดโลกร้อน ด้วยชีวิตพอเพียง (MELTING ICE-A HOT TOPIC)

         
พ.ศ. 2551 ลดวิกฤติโลกร้อน : เปลี่ยนพฤติกรรม ปรับแนวคิด สู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (Co2 Kick the Habit ! Towards a Low Carbon Economy)

          พ.ศ. 2552 คุณคือพลัง ช่วยหยุดยั้งภาวะโลกร้อน (Your Planet Needs You - Unite to Combat Climate Change) 
          พ.ศ. 2553 ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤติชีวิตโลก (Many Species One Planet One Future)

          พ.ศ. 2554 ป่าไม้มีคุณ เกื้อหนุนสรรพชีวิต คิดถนอมรักษา (Forests:Nature at your Service
)


         
โลก ร้อน เกิดภัยพิบัติมากมาย ดังนั้นถึงเวลาแล้ว ที่พวกเราจะร่วมช่วยกันรักษาสภาพแวดล้อมกันแบบจริง ๆ จัง ๆ เพื่อเก็บมันเอาไว้ให้ลูกหลานของเราได้เห็น 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

- deqp.go.th
- lib.ru.ac.th
- phsmun.go.th

วิธีการขออนุญาตขึ้นทะเบียนบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงาน

วิธีการขออนุญาตขึ้นทะเบียนบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงาน

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
1. ประกาศ อก. เรื่อง การกำหนดชนิดและขนาดโรงงาน กำหนดวิธีการควบคุม
การปล่อยของเสีย มลพิษ หรือสิ่งใดๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กำหนดคุณสมบัติของผู้ควบคุม
ผู้ปฏิบัติงาน   ประจำ และหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมดูแลสำหรับระบบป้องกันสิ่งแวดล้อม
เป็นพิษ พ.ศ. 2545 
                2. ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง คุณสมบัติของบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงาน
                 การฝึกอบรมและการสอบมาตรฐาน พ.. 2547

วิธีดำเนินการ
1. ประเภทบุคคล  คุณสมบัติตามประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม ดังนี้
1)            เป็นผู้สอบผ่านการสอบมาตรฐาน ผู้ควบคุมระบบบําบัดมลพิษแต่ละประเภท แล้วแต่กรณี และ
2)            สําเร็จการศึกษาไม่ตํ่ากว่าวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาสุขาภิบาลหรือสิ่งแวดล้อม หรือวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อม  หรือ
3)            สําเร็จการศึกษาไม่ตํ่ากว่าวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตหรือวิทยาศาสตรบัณฑิต และ
มีวิชาเรียนด้านสิ่งแวดล้อมไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต  หรือ
4)            สําเร็จการศึกษาไม่ตํ่ากว่าวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตหรือวิทยาศาสตรบัณฑิต และ
ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ควบคุมระบบบําบัดมลพิษนํ้า อากาศ หรือผู้ควบคุม
ระบบการจัดการมลพิษกากอุตสาหกรรมที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับรอง แล้วแต่กรณี
ขึ้นทะเบียนทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Services)
website www.diw.go.th เลือกเมนู การอนุญาต
เลือก ขึ้นทะเบียนระบบผู้ควบคุมสิ่งแวดล้อม
เข้าสู่ระบบและดำเนินการตามวิธีปฏิบัติเพื่อขอขึ้นทะเบียน
                                                       
2. ประเภทนิติบุคคล คุณสมบัติตามประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม ดังนี้
2.1 เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนภายใต้กฎหมายไทยและมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท
2.2 ใช้แบบคำขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษประเภทนิติบุคคล
2.3 แนบหลักฐานประกอบการพิจารณา ได้แก่
1) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลภายใต้กฎหมายไทยและมีทุนจดทะเบียน
     ไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท

- 2 -

2) มีวัตถุประสงค์ระบุว่าเป็นที่ปรึกษาในการควบคุมดูแลระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
3) รายชื่อและหลักฐานบุคลากรที่สอบผ่านการสอบมาตรฐานผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษ
     ของ กรอ. ตามประเภทมลพิษที่ต้องการขึ้นทะเบียน หรือสำเนาใบทะเบียนของบุคลากร
      ประเภทบุคคล
4) กรณีผู้ลงนามขอขึ้นทะเบียนไม่ใช่ผู้มีอำนาจตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
            ต้องแนบหนังสือมอบอำนาจให้ลงนามแทนในใบคำขอ  พร้อมปิดอากรแสตมป์ 15 บาท
3. ประเภทโรงงาน
3.1 โรงงานที่เข้าข่าย ตามประกาศ อก. พ.ศ. 2545 หมวด 4 ข้อ 5
3.2 ใช้แบบคำขออนุญาตบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงาน
3.3 แนบหลักฐานประกอบการพิจารณา ได้แก่
                                        1) สำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง.4) ทุกหน้า
                                   2) หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์ฉบับปีปัจจุบัน
     พร้อมลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้องโดยกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัทได้ และประทับตรา
     บริษัทเป็นสำคัญทุกแผ่น
3) กรณีลงนามแทนผู้มีอำนาจแนบหนังสือมอบอำนาจ พร้อมปิดอากรแสตมป์ 15 บาท
4) กรรมวิธีการผลิตโดยสังเขป แสดงจุดที่ของเสียเกิดขึ้น
5) สำเนารายละเอียดแบบแปลนและรายการคำนวณประกอบของระบบป้องกันสิ่งแวดล้อม
     เป็นพิษของโรงงาน
6) เสนอชื่อและแนบประกาศนียบัตรการผ่านการฝึกอบรมของผู้จัดการสิ่งแวดล้อม
7) เสนอชื่อและแนบประกาศนียบัตรการสอบผ่านของผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษ
     น้ำ/อากาศ/ระบบการจัดการมลพิษกากอุตสาหกรรม หรือแนบสำเนาใบทะเบียน
     หรือหนังสืออนุญาตให้ขึ้นทะเบียนของนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
8) เสนอชื่อและแนบประกาศนียบัตรการผ่านการฝึกอบรมของผู้ปฏิบัติงานประจำ
     ระบบมลพิษน้ำ/อากาศ/ ระบบการจัดการมลพิษกากอุตสาหกรรม แล้วแต่กรณี
รายละเอียดเพิ่มเติม  website www.diw.go.th  หรือ โทร 0 2202 3961
                                          ----------------------------------------------
            
4. กฎหมายและข้อกำหนดด้านคุณภาพน้ำ
4.1  กฎหมายออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.. 2535
             กฎกระทรวงฉบับที่ 2 (.. 2535)
             ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.. 2535                                     
             กฎกระทรวงฉบับที่ 3 (.. 2535)
             กฎกระทรวงฉบับที่ 11 (.. 2539)
             ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 22 (..2528)
             ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2 (.. 2539 )
             ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม (.. 2539 )
             ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม (.. 2545 )
             ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม (.. 2546 )
             ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม (.. 2547 )
             ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม (.. 2547 )
             ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม (.. 2548 )
             ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม (.. 2549 )
             ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม (.. 2548 )
            
4.2 กฎหมายออกตามความในพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.. 2522
             ประกาศการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยที่ 60/ 2538
             ประกาศการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยที่ 45/ 2541
             ประกาศที่ สนข. 2/ 2544
             ประกาศที่ สนต. 002/ 2544
             ประกาศที่ สนจ. 2/ 2544
             ประกาศที่ สนจ. 1/ 2545
             ประกาศที่ สน. กค. 1/ 2545
             ประกาศที่ สน. กค. 2/ 2545
             ประกาศที่ สน. กค. 3/ 2545
             ประกาศที่ สนป. 1/ 2546
             ประกาศที่ สนบ. 3/ 2548
             ประกาศที่ สนฉ. 2/ 2548
             ประกาศที่ สนล. 02/ 2548
             ประกาศที่ สนน. 09/ 2548
             ประกาศที่ สนพ. 007/ 2548
             ประกาศที่ สนส. 3/ 2548
            
4.3กฎหมายออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ..2535
             ประกาศคณะกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (..2537)
             ประกาศคณะกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 20 (..2543)
             ประกาศคณะกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 27 (..2549)
             ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 3 (.. 2539)
             ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 4 (.. 2539)
             เรื่อง กำหนดประเภทของโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม เป็น
แหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ
หรือออกสู่สิ่งแวดล้อม

             ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (.. 2549)
              เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
             ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (.. 2549)
             เรื่อง กําหนดให้สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นแหล่งกําเนิดมลพิษ
ที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม

             ประกาศกรมควบคุมมลพิษ (.. 2539)
             ประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษ
             ประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษ  (.. 2550)
             เรื่อง การคิดคำนวณพื้นที่ใช้สอย จำนวนอาคาร และจำนวนห้องของอาคารหรือกลุ่มของอาคาร วิธีเก็บตัวอย่างน้ำ ( 29 มกราคม 2550)
             ประกาศกรมควบคุมมลพิษ (..2537)
             ประกาศกรมควบคุมมลพิษ (..2537)
             ประกาศกรมควบคุมมลพิษ (..2537)
             ประกาศกรมควบคุมมลพิษ (..2537)
             ประกาศกรมควบคุมมลพิษ (..2541)
             ประกาศกรมควบคุมมลพิษ (..2542)
             ประกาศกรมควบคุมมลพิษ (..2542)
             ประกาศกรมควบคุมมลพิษ (..2542)
             ประกาศกรมควบคุมมลพิษ (..2542)
             ประกาศกรมควบคุมมลพิษ (..2542)
             ประกาศกรมควบคุมมลพิษ (..2547)
             ประกาศกรมควบคุมมลพิษ (..2547)
             ประกาศกรมควบคุมมลพิษ (..2547)
             ประกาศกรมควบคุมมลพิษ (..2549)
             ประกาศกรมควบคุมมลพิษ (..2549)
             ประกาศกรมควบคุมมลพิษ (..2549)
             ประกาศกรมควบคุมมลพิษ (..2549)
            
4.4 กฎหมายออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.. 2456
             ประกาศกรมเจ้าท่าที่ 67/ 2534
             เรื่อง ให้มีการขออนุญาตการปล่อยน้ำทิ้งทุกประเภทลงสู่ลำน้ำ
             ประกาศกรมเจ้าท่าที่ 459/2541
             ประกาศกรมเจ้าท่าที่ 419/ 2540
             ประกาศกรมเจ้าท่าที่ 435/ 2540
            
4.5 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
            
4.6  กฎหมายอื่นๆ
             คำสั่งกรมชลประทาน ที่ 883/2532
             มาตรฐานทางน้ำชลประทาน