จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์( EM )สำคัญอย่างไร?
ท่านรู้หรือไม่ว่าในโลกนี้ ถ้าปราศจากจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หรืออีเอ็ม( Effective Micro-organisms )อยู่ เคียงข้างกับมนุษย์และสัตว์โลกนี้ มนุษย์และสัตว์ทุกชนิดอาจไม่มีชีวิตยืนอยู่บนโลกนี้ ในโลกความเป็นจริงจุลินทรีย์มีหลายกลุ่ม แต่พอสรุปได้เป็น 3 จำพวกดังนี้
1. จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หรือกลุ่มที่ให้ประโยชน์ ( EM ) จุลินทรีย์กลุ่มนี้พบได้แทบทุกแห่ง ทั้งในร่างกายคนเราและสิ่งแวดล้อมทั่วๆไป แต่อาจมีปริมาณน้อย ให้ประโยชน์ในเรื่องการย่อยสลายและการควบคุมกลุ่มจุลินทรีย์ที่ให้โทษ กลุ่มจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์มีทั้งประเภทใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจน
2. จุลินทรีย์ที่มีโทษหรือกลุ่มที่ให้โทษ กลุ่มนี้ถือว่าเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม สิ่งปฏิกูลเน่าเสียล้วนเกิดจากปฏิกิริยาของจุลินทรีย์กลุ่มนี้
3. จุลินทรีย์ที่เป็นกลาง คือกลุ่มที่แสดงผลเป็นกลาง สามารถให้ประโยชน์หรือให็ดทษก็ได้ เมื่อรวมกลุ่มกับจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์ ก็จะเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ แต่ถ้ารวมตัวกับกลุ่มจุลินทรีย์ที่ให้โทษ ก็จะทำให้เกิดโทษขึ้นได้
เกี่ยวกับจุลินทรีย์ กลุ่มจุลินทรีย์มีหลายกลุ่มดังนี้
1. กลุ่มจุลินทรีย์สร้างสรรค์หรือกลุ่มจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพ มีประมาณ 10 %
2. กลุ่มจุลินทรีย์ทำลาย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ ทำให้เกิดโรคต่างๆรวมทั้งของเสียต่างๆ มีประมาณ 10 %
3. กลุ่มจุลินทรีย์เป็นกลาง มีประมาณ 80 % จุลินทรีย์กลุ่มนี้หากกลุ่มใด มีจำนวนมากกว่า จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะสนับสนุนหรือร่วมด้วย
ดัง นั้น การเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพลงในดิน ก็เพื่อให้กลุ่มสร้างสรรค์มีจำนวนมากกว่า ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้กลับมีพลังขึ้นมา อีกหลังจากที่ถูกทำลายด้วยสารเคมีจนดินตายไป
จุลินทรีย์มี 2 ประเภท1. จุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศ (Aerobic Bacteria)
2. จุลินทรีย์ประเภทไม่ต้องการอากาศ (Anaerobic Bacteria)
จุลินทรีย์ ทั้ง 2 กลุ่มนี้ ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และสามารถอยู่ร่วมกันได้ จากการค้นคว้าดังกล่าว ได้มีการนำเอาจุลินทรีย์ที่ได้รับการคัดและเลือกสรรอย่างดีจากธรรมชาติ ที่มีประโยชน์ต่อพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม มารวมกัน 5 กลุ่ม (Families) 10 จีนัส (Genues) 80 ชนิด (Spicies) ได้แก่
จุลินทรีย์กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกเชื้อราที่มีเส้นใย (Filamentous fungi) ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการย่อยสลาย สามารถทำงานได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน มีคุณสมบัติต้านทานความร้อนได้ดี ปกติใช้เป็นหัวเชื้อผลิตเหล้า ผลิตปุ๋ยหมัก ฯลฯ
จุลินทรีย์กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสังเคราะห์แสง (Photosynthetic microorganisms) ทำหน้าที่สังเคราะห์สารอินทรีย์ให้แก่ดิน เช่น ไนโตรเจน (N2) กรดอะมิโน (Amino acids) น้ำตาล (Sugar) วิตามิน (Vitamins) ฮอร์โมน (Hormones) และอื่นๆ เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ดิน
จุลินทรีย์กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก (Zynogumic or Fermented microorganisms) ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้ดินต้านทานโรค (Diseases resistant) เข้าสู่วงจรการย่อยสลายได้ดี ช่วยลดการ พังทลายของดิน ป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิด สามารถบำบัดมลพิษในน้ำเสียที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่างๆ ได้
จุลินทรีย์ กลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกตรึงไนโตรเจน (Nitrogen fixing microorganisms) มีทั้งพวกที่เป็นสาหร่าย (Algae) และพวกแบคทีเรีย (Bacteria) ทำหน้าที่ตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศเพื่อให้ดินผลิตสารที่เป็นประโยชน์ต่อการ เจริญเติบโต เช่น โปรตีน (Protein) กรดอินทรีย์ (Organic acids) กรดไขมัน (Fatty acids) แป้ง (Starch or Carbohydrates) ฮอร์โมน(Hormones) วิตามิน (Vitamins) ฯลฯ
จุลินทรีย์กลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสร้างกรดแลคติก (Lactic acids) มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อรา และแบคทีเรียที่เป็นโทษ ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศหายใจ ทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพดินเน่าเปื่อย หรือดินก่อโรคให้เป็นดินที่ต้านทานโรค ช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชที่มีจำนวนนับแสน หรือให้หมดไป นอกจากนี้ยังช่วยย่อยสลายเปลือกเมล็ดพันธุ์พืช ช่วยให้เมล็ดงอกได้ดีและแข็งแรงกว่าปกติอีกด้วย
2. กลุ่มจุลินทรีย์ทำลาย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ ทำให้เกิดโรคต่างๆรวมทั้งของเสียต่างๆ มีประมาณ 10 %
3. กลุ่มจุลินทรีย์เป็นกลาง มีประมาณ 80 % จุลินทรีย์กลุ่มนี้หากกลุ่มใด มีจำนวนมากกว่า จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะสนับสนุนหรือร่วมด้วย
ดัง นั้น การเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพลงในดิน ก็เพื่อให้กลุ่มสร้างสรรค์มีจำนวนมากกว่า ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้กลับมีพลังขึ้นมา อีกหลังจากที่ถูกทำลายด้วยสารเคมีจนดินตายไป
จุลินทรีย์มี 2 ประเภท1. จุลินทรีย์ประเภทต้องการอากาศ (Aerobic Bacteria)
2. จุลินทรีย์ประเภทไม่ต้องการอากาศ (Anaerobic Bacteria)
จุลินทรีย์ ทั้ง 2 กลุ่มนี้ ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และสามารถอยู่ร่วมกันได้ จากการค้นคว้าดังกล่าว ได้มีการนำเอาจุลินทรีย์ที่ได้รับการคัดและเลือกสรรอย่างดีจากธรรมชาติ ที่มีประโยชน์ต่อพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม มารวมกัน 5 กลุ่ม (Families) 10 จีนัส (Genues) 80 ชนิด (Spicies) ได้แก่
จุลินทรีย์กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกเชื้อราที่มีเส้นใย (Filamentous fungi) ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการย่อยสลาย สามารถทำงานได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน มีคุณสมบัติต้านทานความร้อนได้ดี ปกติใช้เป็นหัวเชื้อผลิตเหล้า ผลิตปุ๋ยหมัก ฯลฯ
จุลินทรีย์กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสังเคราะห์แสง (Photosynthetic microorganisms) ทำหน้าที่สังเคราะห์สารอินทรีย์ให้แก่ดิน เช่น ไนโตรเจน (N2) กรดอะมิโน (Amino acids) น้ำตาล (Sugar) วิตามิน (Vitamins) ฮอร์โมน (Hormones) และอื่นๆ เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ดิน
จุลินทรีย์กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก (Zynogumic or Fermented microorganisms) ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้ดินต้านทานโรค (Diseases resistant) เข้าสู่วงจรการย่อยสลายได้ดี ช่วยลดการ พังทลายของดิน ป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิด สามารถบำบัดมลพิษในน้ำเสียที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่างๆ ได้
จุลินทรีย์ กลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกตรึงไนโตรเจน (Nitrogen fixing microorganisms) มีทั้งพวกที่เป็นสาหร่าย (Algae) และพวกแบคทีเรีย (Bacteria) ทำหน้าที่ตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศเพื่อให้ดินผลิตสารที่เป็นประโยชน์ต่อการ เจริญเติบโต เช่น โปรตีน (Protein) กรดอินทรีย์ (Organic acids) กรดไขมัน (Fatty acids) แป้ง (Starch or Carbohydrates) ฮอร์โมน(Hormones) วิตามิน (Vitamins) ฯลฯ
จุลินทรีย์กลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสร้างกรดแลคติก (Lactic acids) มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อรา และแบคทีเรียที่เป็นโทษ ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศหายใจ ทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพดินเน่าเปื่อย หรือดินก่อโรคให้เป็นดินที่ต้านทานโรค ช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชที่มีจำนวนนับแสน หรือให้หมดไป นอกจากนี้ยังช่วยย่อยสลายเปลือกเมล็ดพันธุ์พืช ช่วยให้เมล็ดงอกได้ดีและแข็งแรงกว่าปกติอีกด้วย
กลุ่มจุลินทรีย์ที่นำมาใช้ บำบัดน้ำเสีย กำจัดกลิ่นเหม็น กำจัดของเสีย จะใช้กลุ่มจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศ ซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์สูง ย่อยสลายสิ่งสกปรกและของเสียได้เป็นอย่างดี ย่อยสลายและดับกลิ่นเน่าเหม็นได้อย่างสมบูรณ์แบบ ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะใดๆต่อโลก ในทางตรงกันข้ามช่วยให้สิ่งแวดล้อมโดยรวมดีขึ้นจากขบวนการย่อยสลายสิ่งสกปรก นั่นเอง
ถ้าไม่มีจุลินทรีย์ในการ ย่อยสลาย สิ่งปฏิกูลและของเสียต่างๆจะท่วมโลกได้ และจะถึงกาลอวสานของสิ่งมีชีวิตในโลกนี้ทั้งหมด รวมถึงมนุษย์ด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น