Breaking news-ไทยรัฐออนไลน์

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ระบบบำบัดน้ำเสียแบบคลองวนเวียน (Oxidation Ditch ; OD)


บ่อเติมอากาศแบบคลองวนเวียน

 เป็นระบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์ (Activated Sludge) ประเภทหนึ่ง ที่ใช้แบคทีเรียพวกที่ใช้ออกซิเจน (Aerobic Bacteria) เป็นตัวหลักในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย และเจริญเติบโตเพิ่มจำนวน ก่อนที่จะถูกแยกออกจากน้ำทิ้งโดยวิธีการตกตะกอน การเดินระบบบำบัดประเภทนี้จะมีความยุ่งยากซับซ้อน เนื่องจาก จำเป็นจะต้องมีการควบคุมสภาวะแวดล้อมและลักษณะทางกายภาพต่าง ๆ ให้เหมาะสมต่อการทำงานและการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ เพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพในการบำบัดสูงสุด





ขอบคุณข้อมูลจาก :กรมควบคุมมลพิษ
  ภาพจาก : b4961512.exteen.com
  

ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศ (Aerated Lagoon หรือ AL)



ระบบบำบัดน้ำเสียแบบสระเติม


เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่อาศัยการเติมออกซิเจนจากเครื่องเติมอากาศ (Aerator) ที่ติดตั้งแบบทุ่นลอยหรือยึดติดกับแท่นก็ได้ เพื่อเพิ่มออกซิเจนในน้ำให้มีปริมาณเพียงพอ สำหรับจุลินทรีย์สามารถนำไปใช้ย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียได้เร็วขึ้นกว่า การปล่อยให้ย่อยสลายตามธรรมชาติ ทำให้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศสามารถบำบัดน้ำเสียได้อย่างมี ประสิทธิภาพ สามารถลดปริมาณความสกปรกของน้ำเสียในรูปของค่าบีโอดี (Biochemical Oxygen Demand; BOD) ได้ร้อยละ 80-95 โดยอาศัยหลักการทำงานของจุลินทรีย์ภายใต้สภาวะที่มีออกซิเจน (Aerobic) โดยมีเครื่องเติมอากาศซึ่งนอกจากจะทำหน้าเพิ่มออกซิเจนในน้ำแล้วยังทำให้ เกิดการกวนผสมของน้ำในบ่อด้วย ทำให้เกิดการย่อยสลายสารอินทรีย์ได้อย่างทั่วถึงภายในบ่อ

 เครื่องเติมอากาศแบบ Surface Aerator







ขอบคุณข้อมูลจาก กรมควบคุมมลพิษ

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ระบบบำบัดน้ำเสียแบบตะกอนเร่ง (Activated-sludge process)

ระบบบำบัดน้ำเสีย มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับ 
เทศบาล โรงงานอุตสาหกรรม
ริ่มมีการพัฒนาในปีค.ศ. 1914 โดย Arden และ Lockett หลักการของระบบได้แก่ การเติมน้ำเสียเข้าสู่ถังบำบัดที่มีเชื้อจุลินทรีย์อยู่ในรูปสารแขวนลอย (ประมาณ 2,000 – 5,000 มก / ลิตร) กวนผสมให้เข้ากัน ส่วนผสมเรียกว่า Mixed Liquor เติมอากาศลงในระบบ ทิ้งไว้ให้เกิดปฏิกิริยาการย่อยสลายแล้วจึงปล่อยน้ำเสียออกจากถังบำบัดเข้าสู่ถังตกตะกอนเพื่อแยกเซลล์ของแบคทีเรีย(Sludge)ออกจากน้ำเสีย ตะกอนเซลล์บางส่วนนำกลับเข้าสู่ระบบบำบัดอีกครั้ง ส่วนที่เหลือแยกออกจากถังตกตะกอน ระยะเวลาในการย่อยสลายประมาณ 6 ชม. – 3 วัน หรือมากกว่าขึ้นกับปริมาณสารอินทรีย์ในน้ำเสียและวิธีการดำเนินงานที่เลือกใช้ เชื้อแบคทีเรียในถังบำบัดเป็นชนิดแกรมลบ ต้องการอากาศและชนิดที่เจริญได้ทั้งสภาวะมี
อากาศและไม่มีอากาศ เช่น Pseudomonas, Zoogloea, Achromobacter,Flavobacterium, Nocardia, Mycobacterium และ Nitrifying bacteria 2 ชนิดคือ  Nitrosomonas และ Nitrobacter ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายสารอินทรีย์แล้วสร้างเซลล์ขึ้นมา



เครื่องเติมอากาศแบบผิวน้ำ surface aerator 
ใช้ได้กับระบบตะกอนเร่ง As.


ข้อมูล : www.tumcivil.com
ภาพจาก : thai-draftman.blogspot.com